ในหลายปีที่ผ่านมานี้การใช้งาน Style Sheet มีการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการความสามารถที่จัดเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รูปแบบสวยงาม และง่ายต่อการแก้ไข
การใช้งาน Style Sheet สามารถใช้งานได้ง่ายๆ โดยมีโครงสร้างดังนี้
selector{
property1: value1;
property2: value2;
}
ยกตัวอย่างเช่นการอธิบายการจัดรูปแบบของ tag P
P {
text-align: left;
color: #FFFFFF;
font-family: Tahoma;
}
โดยจะให้การแสดงผลในทุกๆตัวอักษรที่อยู่ในนั้นเป็นอักษรสีขาวด้วย font ตระกูล Tahoma และจัดอักษรชิดซ้าย
การใช้งาน Style Sheet มีการใช้งานได้ 3 แบบกล่าวคือ
1. Inะternal Style โดยการวาง tag STYLE ไว้ในส่วน HEAD ของเอกสาร HTML
<head>
<title>การใช้งาน Style Sheet</title>
<style type="text/css">
P {
font-size: 3;
color: blue;
font-family: Arial;
}
A {
font-size: 3;
color: red;
font-family: Arial; }
</style>
</head>
2. Inline Style โดยการเพิ่ม attribute STYLE ลงใน tag ที่ต้องการ
<p style="color: #00FF00; font-family: Arial">ตัวอักษรนี้มีสีเขียวและเป็น font Arial</p>
3. External CSS File โดยการเพิ่ม tag LINK ลงในส่วน HEAD ของเอกสาร HTML โดยในเอกสาร stylesheet.css ก็เป็นการเขียนอธิบายตามภาษา CSS
<link rel="stylesheet" href="stylesheet.css" type="text/css">
การใช้งาน Class และ ID
Class เป็นกลุ่มคุณสมบัติต้นแบบ สามารถนำไปใช้ได้กับหลายๆ element ต่างจาก ID ซึ่งเป็นการระบุคุณสมบัติของ element ใด element หนึ่งเท่านั้นซึ่งมีการระบุในเอกสาร
การประกาศ Class
.whiteColor {
color: #FFFFFF;
}
.blackColor {
color: #000000;
}
หรืออาจจะระบุ tag ที่ต้องการให้มีการใช้งาน class ได้เช่น
P.whiteColor {
color: #FFFFFF;
}
A.blackColor {
color: #000000;
}
ซึ่งจะมีผลกับ tag ที่ระบุเท่านั้น เช่น
<p class="whiteColor">ตัวอักษรนี้สีขาว</p>
แต่จะไม่สามารถนำ whitecolor ไปใช้กับ tag อื่นๆ ได้
การประกาศ ID
#header {
font-size: 16px;
font-weight: bold;
}
เช่นเดียวกับ Class เราสามารถระบุ tag ลงไปก็ได้เช่น
P#header {
font-size: 16px;
font-weight: bold;
}
การใช้งานเช่น
<p id="header">ตัวอักษรตัวหนาขนาด 16 pixel</p>